แนวทางบริหารเงินสำหรับมือใหม่
แนวทางบริหารเงินสำหรับมือใหม่
การบริหารการเงินที่ดีนั้นจะหมายถึงหลายอย่างด้วยกัน ตั้งแต่การดำรงค์ชีพด้วยรายได้ที่มี การเก็บออมเพื่อเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงการมีแผนที่ปฏิบัติได้จริงสำหรับการชำระหนี้ต่างๆ ลองอ่านดูนะครับหากท่านต้องการเรียนรู้ว่าจะตั้งงบอย่างไร ใช้เงินให้เป็นประโยชน์เต็มที่ ชำระหนี้ให้หมดเร็วๆ รวมไปถึงการเริ่มเก็บออม
การบันทึกรายได้รายจ่าย
ถ้าคุณไม่อยากตกอยู่ในวังวนปัญหาทางด้านการเงินแล้วละก็ การวางแผนการเงินด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายต่างๆ นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
วิธีการง่ายๆก็คือการจดบันทึกรายได้ทั้งหมดที่คุณมี ไม่ว่าจะเป็นเงินเดิน รายได้จากค่าเช่า หรือจากการค้าขายเป็นต้น และจดบันทึกรายจ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน โดยจดทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องวิ่งหาสมุดหรือกระดาษมาจดแล้ว เพราะหากท่านมี smartphone ก็จะมีแอพให้ใช้งานมากมาย หรือจะใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ก็มีเพียบ การจดบันทึกต่างๆเหล่านี้ทำให้คุณสามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายทั้งหมดไว้ในที่เดียว คุณก็จะสามารถวิเคราะห์รายจ่ายทั้งหมดและสามารถแยกหมวดหมู่ออกมา และมองเห็นถึงว่าคุณหมดเงินไปกับประเด็นใดบ้าง ตัวอย่างต่อไปนี้คือหมวดหมู่หลักๆที่เราจำเป็นต้องใช้
– ค่าใช้จ่ายจำเป็นเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต
– ค่าใช้จ่ายในการดำรงค์ชีพ เช่นค่าอาหาร ค่าเดินทางไปทำงาน
– ค่าใช้จ่ายทางด้านการเงิน เช่นจ่ายเงินผ่อน ดอกเบี้ย ค่าประกันชีวิต
– ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและเพื่อนฝูง เช่นค่าซองงานแต่ง งานบวช
– ค่าใช้จ่ายในการท่องเทียว
– ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง เช่นดูหนัง ปาร์ตี้ หรือมื้อหรูๆ
เมื่อคุณเห็นตัวเลขต่างๆแล้วก็สามารถที่จะปรับแต่งการใช้เงินได้เรามาดูกันต่อไปนะครับ
เช็คดูว่าคุณหมดเงินไปกับอะไร
หากคุณใช้จ่ายเงินในแต่ละเดือนมากกว่ารายได้ที่ได้รับมา ขั้นตอนต่อไปก็คือการมองดูในรายละเอียดการใช้จ่ายว่าคุณจ่ายเงินไปกับเรื่องไหนเท่าไหร่ และจะสามารถประหยัดส่วนไหนได้บ้าง แม้จะเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยอย่างเช่นค่ากาแฟตอนเย็น หรือค่าอาหาร fastfood เพียงมื้อเดียวต่อวัน ยอดรวมก็อาจจะเยอะอยู่
จดบันทึกทุกรายจ่าย
การจดบันทึกทุกรายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการตรวจสอบว่าเงินคุณหายไปไหนหมด ให้ลองพยายามจดบันทึกทุกรายการที่ใช้เงินเป็นระยะเวลาซัก 1 เดือน ซึ่งไม่ควรเว้นแม้แต่รายการเดียว ยิ่งถ้าคุณทำด้วยระยะเวลาที่นานขึ้นก็จะยิ่งดีมาก มันจะทำให้คุณเห็นว่าเงินหายไปกับอะไรเยอะ
หลังจากคุณเริ่มเห็นภาพค่าใช้จ่ายคุณแล้ว คุณก็จะเริ่มตระหนักว่าควรจะลดส่วนไหนที่ไม่จำเป็นลง เพราะแค่วันละนิดละหน่อยรวมหลายๆวันก็เป็นเงินจำนวนมากทีเดียว
ชำระหนี้เงินกู้และบัตรเครดิต บัตรเงินสด
ถ้าคุณมีหนี้สินจากการไปกู้ยืมเงินมา วิธีการที่ดีที่สุดคือการชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่ท่านจะปลดภาระหนี้ได้เร็วที่สุด บัตรกดเงินสดนั้นจะมีดอกเบี้ยสูงถึง 28% ส่วนบัตรเครดิตจะอยู่ที่ประมาณ 20% ส่วนหนี้เงินกู้ซื้อบ้านนั้นดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 6% เท่านั้น ดังนั้นการที่คุณรู้ว่าคุณเป็นหนี้อะไรบ้าง ดอกเบี้ยเท่าไหร่บ้าง เหลือยอดหนี้แต่ละอย่างเท่าไหร่จะเป็นประโยชน์มาก
สิ่งสำคัญคืออย่าลืมผ่อนชำระหนี้สินให้ตรงเวลา เพราะการผิดนัดอาจจะทำให้ต้องเสียค่าปรับ พร้อมกับอัตรดอกเบี้ยที่อาจจะเปลี่ยนไปเป็นอัตราที่สูงขึ้น อย่างน้อยก็ควรจะจ่ายขั้นต่ำโดยอย่าให้ขาดแม้แต่สตางค์เดียว วิธีการจ่ายหนี้ก็คือพยายามปัดขึ้นเป็นตัวเลขกลมๆ เช่นถ้ามีใบแจ้งหนี้ที่ 1,276 บาท คุณก็อาจจะจ่ายที่ 1,300 บาท ไปเลยเป็นต้น
ถ้าคุณรู้สึกว่าปัญหาหนี้สินกำลังรุมเร้า
จริงๆแล้ว สิ่งที่ยากที่สุดในการจ่ายหนี้คืนก็คือการเริ่มต้นทำอะไรซักอย่าง ความรู้สึกของเราว่าหนี้สินรุมเร้านั้นจะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก หลายคนตัดสินใจที่จะเมินหน้าหนี ไม่ยอมแม้แต่จะแกะซองจดหมายทวงหนี้ แต่การทำแบบนั้นไม่ได้ทำให้ปัญหาคุณหายไปแน่นอน
ให้ตัดสินใจสูดลมหายใจให้เต็มปอด แล้วเปิดจดหมายทวงหนี้ต่างๆ จดบันทึกตัวเลขหนี้ทั้งหมด อย่างมันจะทำให้คุณเห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมดว่าคุณแบบรับอยู่เท่าไหร่
ลองปรึกษารับความช่วยเหลือหากปัญหาเริ่มยากที่จะเยียวยา
ถ้าคุณเริ่มผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ต่างๆ หรือหากคุณเริ่มไม่มีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้ลองหาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือองค์กรการกุศลต่างๆดู เพื่อหาทางออกกับปัญหาของคุณ
ตั้งเป้าหมายการเก็บออม
หากคุณอยู่ในจุดที่ไม่มีปัญหาหนี้สินใดๆ และเริ่มมีเงินเหลือจ่ายบ้าง คนส่วนใหญ่อาจจะพบว่ามันยากที่จะเริ่มเก็บเงิน แต่จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องง่ายมากถ้าคุณตั้งเป้าหมายเอาไว้ ดังนั้นแทนที่จะคิดถึงตัวเลขว่าคุณต้องเก็บเงินเท่าไหร่ในแต่ละเดือน คุณอาจจะคิดไปถึงว่าถ้าเก็บเงินก้อนนั้นได้ คุณจะได้อะไรตอบแทน
ขั้นแรกคุณต้องเก็บเงินไว้เผื่อฉุกเฉินก่อน ซึ่งเป็นเงินไว้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่นแอร์เสีย เครื่องซักผ้าพัง หรือคุณต้องเปลี่ยนงานเป็นต้น พยายามเก็บเงินให้ได้จำนวน 3 ถึง 6 เท่าของเงินเดือนสุทธิที่คุณได้รับ เก็บเงินไว้ในบัญขีที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องตัดเงินมาทั้งก้อนแต่ค่อยๆสะสมไว้จนถึงเป้าหมายที่ต้องการก็ได้ เช่นหากคุณได้รับเงินเดือนในแต่ละเดือน 20,000 บาท คุณก็ควรจะมีเงินเผื่อฉุกเฉินเก็บไว้ซัก 120,000 บาท เก็บเงินนี้ให้ได้ก่อนที่คิดจะนำเงินไปลงทุนในเรื่องใดๆ หากมีการใช้เงินก้อนนี้ไปเพราะฉุกเฉินก็ต้องหามาเติมให้เต็ม
เมื่อเก็บเงินเผื่อฉุกเฉินได้แล้ว ก็ให้ตั้งเป้าเก็บเงินต่อไป โดยอาจจะตั้งเป้าหมายดังนี้
– เก็บเงินไปเที่ยวญี่ปุ่น
– เก็บเงินไว้กรณีคลอดลูก
– จะซื้อรถเงินสด
– จะเก็บเงินให้ได้สักหนึ่งล้านบาท
ออมเงินสม่ำเสมอ
วิธีการในการเก็บเงินที่ดีคือการเปิดบัญชีแยกต่างหาก ซึ่งธนาคารของรัฐหลายแห่งมีบริการบัญชีที่ไม่ต้องมีบัตรเอทีเอ็ม ทำให้ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เป้าหมายแต่ละเป้าที่ตั้งไว้ ก็แยกกันคนละบัญชีไปเลย
การเก็บออมที่ดีคือ เมื่อมีรายได้เข้ามาก็โอนเข้าไปบัญชีเงินเก็บเลย อย่ารอให้เงินเหลือแล้วค่อยเก็บ เพราะมันจะเป็นภาพลวงตาและจะทำให้เราเผลอลืมเก็บเงินเอาได้ง่ายๆ
หากเงินเดือนเพิ่มก็ให้โอนส่วนต่างเป็นเงินเก็บ หรือหากดอกเบี้ยเงินกู้ลด ทำให้รายจ่ายน้อยลงก็ให้เก็บเงินส่วนต่างเป็นเงินออมเสีย
ตรวจสอบด้วยว่าบัญชีเงินเก็บนั้นอัตราผลตอบแทนดีหรือไม่ บางครั้งไม่มีการถอนออกมาเลยก็ควรจะฝากบัญชีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้อัตรผลตอบแทนที่สูงขึ้น
หากคุณเริ่มมีเงินออมมากขึ้นแล้ว ค่อยมาพิจารณาลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเช่น
– ลงทุนในกองทุนรวม
– ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
– ลงทุนในหุ้น
– ลงทุนในธุรกิจอื่นๆ
วิธีอื่นๆ
นอกจากนี้แล้วการบริหารการเงินนั้นมีหลายวิธี นอกจากวิธีเก็บเงินแล้ว ก็ยังมีวิธีลดต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำวัน ซึ่งเมื่อค่าใช้จ่ายลดลง เงินก็เหลือเก็บมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างไรให้มีเงินเหลือเก็บมาฝากคุณผู้อ่าน
- Auto mode – แม้ไม่ต้องปรับอะไรมาก เราก็ต้องหมั่นสังเกตุว่าอุณภูมิที่ระบบใช้อยู่นั้นต่ำจนหนาวเหน็บเกินไปหรือไม่ เช่น 19 องศา ซึ่งอุณภูมิระดับนี้จะกินไฟมากเป็นพิเศษ หากห้องที่มีคนไม่เยอะ แนะนำให้ใช้ Cool mode จะช่วยประหยัดไฟได้ดีกว่า
- Cool mode – โหมดที่คุณสามารถปรับอุณภูมิได้ตามใจ เราอาจกำหนดไว้ที่ 25 องศา เมื่ออุณภูมิความเย็นถึงระดับแอร์ก็จะตัด ซึ่งมีข้อควรระวังคือ แอร์อาจจะตัด และเริ่มการทำงานบ่อยครั้งมากขึ้นถ้าอุณภูมิความร้อนภายนอกสูงกว่าปกติ และสภาพแวดล้อมในห้องที่มีปัจจัยบางอย่างมาเพิ่มความร้อน เช่น ตู้เย็น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า หากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ Auto mode จะเหมาะสมกว่า
- Dry mode – โหมดนี้แอร์จะทำหน้าที่ลดความชื้นเป็นหลัก แต่จะไม่ทำให้ห้องเย็นสบาย แม้จะเป็นโหมดระบบปรับอากาศที่แอร์ทำงานไม่หนัก อัตรากินไฟต่ำ ก็ไม่เหมาะกับห้องที่อยู่อาศัยเพราะจะส่งผลให้มีปัญหาผิวแห้งขาดน้ำได้
- Fan mode – โหมดนี้ทำหน้าที่เหมือนพัดลม ซึ่งแอร์จะไม่ทำความเย็นอัตรากินไฟต่ำที่สุด ข้อดีที่สุดของโหมดนี้มักถูกใช้เพื่อลดความชื้นในตัวเครื่อง กลิ่นเหม็นอับในตัวเครื่องจะลดลง เหมือนเวลาเราใช้แอร์ในรถยนต์ซึ่งเราควรใช้ Fan mode ก่อนปิดแอร์อย่างน้อย 30 นาทีเพื่อไล่ความชื้นก็จะช่วยลดกลิ่นเหม็นอับที่เกิดจากแอร์ได้
- Smart saving mode – โหมดนี้ประหยัดไฟสุด ๆ ซึ่งการทำงานของแอร์จะเป็น Cool mode คือทำงานตามอุณภูมิที่เราตั้งไว้แต่ระบบจะทำงานช้าลง ทำงานแบบไม่กระชาก หลักการเปิดใช้งานคือ คุณต้องเปิด Cool mode ไว้ก่อน หลังจากนั้นจึงเปิดใช้งาน Smart saving mode ขอบอกว่าโหมดนี้ประหยัดไฟสุด ๆ เหมาะกับการเปิดแอร์ใช้ตลอดทั้งวัน
2654 total views, 1 today