พ.ร.บ. ทวงหนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ทวงหนี้ไม่ถูกต้องมีสิทธิติดคุก
พ.ร.บ. ทวงหนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ทวงหนี้ไม่ถูกต้องมีสิทธิติดคุก 5 ปี ปรับ 5 แสน
รัฐบาลเตรียมออกกฏหมาย พ.ร.บ.ทวงถามหนี้เอาใจคนจน โดยที่กฏหมายฉบับนี้เป็น พ.ร.บ. ทวงถามหนี้ 2558 เริ่มบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญของกฏหมายนี้ก็คือ คนที่จะทวงหนี้ได้จะต้องมีการจดทำเบียน โดยมาตรา 5 ระบุว่า บุคคลผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้จะต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน
โดยมาตรา 6 ระบุว่า กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ที่เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ มาตรา 39 ระบุว่าผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
มาตรา 29 ให้ที่ทำการปกครอง หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ มีอำนาจรับร้องเรียนการทวงหนี้ผิดกฎหมาย ติดตามพฤติกรรมของผู้ทวงถามหนี้
สำหรับวิธีการทวงหนี้ตามมาตรา 11
– ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ใ
– ช้วาจาดูหมิ่น
– แจ้งหรือเปิดเผยตัวลูกหนี้ ใช้ข้อความสื่อความหมายในการทวงถามไม่เหมาะสม
– การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน
– การใช้ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ในการติดต่อลูกหนี้ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้
ตัวอย่างที่ไม่สามารถกระทำได้เช่น การโทรไปแจ้งให้เจ้านายทราบ หรือการประกาศด้วยเสียงตามสายในหมู่บ้าน หรือการเปิดเผยให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบไม่ได้
มาตรา 12 ห้ามทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ อ้างว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ ทนายความ สำนักงานกฎหมาย อ้างว่าถ้าไม่จ่ายจะถูกดำเนินคดี หรือถูก อายัดเงินเดือน มาตรา 13 ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินกำหนด
มาตรา 14 ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐ ไปทวงถามหนี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นการห้ามบุคคลในเครื่องแบบไปทวงหนี้ที่ไม่ใช่ของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาเราจะพบเห็นการที่คนมีสีซึ่งมีอำนาจอิทธิพลรับจ้างทวงหนี้ให้กับเอกชนเป็นจำนวนมาก
มาตรา 23 ให้ลูกหนี้ที่เดือดร้อนจากพฤติกรรมดังกล่าวไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการติดตามการทวงถามหนี้ หากถูกละเมิดสิทธิ์ และหากผู้ทวงหนี้ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ต้องระวางโทษจำคุก 3-5 ปี หรือปรับ 300,000-500,000 บาท นอกจากนี้ยังมีบทห้ามทวงหนี้นอกเวลาทำการเป็นต้น
มาตรา 40 บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 41 บุคคลใดใช้ความรุนแรง ข่มขู่ หรือแสดงให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในการทวงถามหนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรบ
มาตรา 42 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยสรุปแล้วผู้ที่จะทวงหนี้จะต้องจดทะเบียน และห้ามทวงหนี้ในลักษณะประจานให้อับอาย และห้ามคนมีสีเข้ามาทวงหนี้ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนจากการทวงหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ
การทวงหนี้ต้องกระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เกินเวลา 18.00 น. ทวงไม่ได้ อีกทั้งการทวงหนี้นอกระบบก็อยู่ภายใต้กฏหมายฉบับนี้ด้วย
ภาพประกอบจาก thaipbs
3249 total views, 2 today