พิโคไฟแนนซ์ ลุยตลาดเงินกู้
พิโคไฟแนนซ์ ลุยตลาดเงินกู้
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือน มกราคม 2561 ว่า
สินเชื่อรายย่อยภายใต้การกำกับระดับจังหวัดภาย หรือเงินกู้พิโคไฟแนนซ์ นั้น ได้มีนิติบุคคลสนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2559 – มกราคม 2561 ทั้งสิ้น 441 ราย ใน 66 จังหวัด
โดยจังหวัดที่มีผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการพิโคไฟแนนซ์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่
– นครราชสีมา 45 ราย
– กรุงเทพมหานคร 34 ราย
– ร้อยเอ็ด 28 ราย
ต่อมาได้มีผู้ขอคืนคำขออนุญาต 48 ราย ใน 28 จังหวัด จึงมีนิติบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตสุทธิเพียง 393 ราย ใน 64 จังหวัด และมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจพิโคไฟแนนซ์ไปแล้ว 279 ราย ใน 60 จังหวัด
โดยในจำนวนนี้ ได้มีการเปิดดำเนินการแล้ว 159 ราย ใน 49 จังหวัด และมีผู้ประกอบการที่ปล่อยเงินกู้พิโคไฟแนนซ์แล้ว 114 ราย ใน 45 จังหวัด
สำหรับสินเชื่อพิโคไฟแนนซ์นั้น ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตสามารถปล่อยสินเชื่อพิโคไฟแนนซ์ได้ภายในเขตจังหวัดให้แก่ผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ภายในจังหวัดนั้นๆ วงเงินรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท และคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกิน 36% ต่อปี
ปล่อยเงินกู้พิโคไฟแนนซ์อย่างต่อเนื่อง
ในด้านผลประกอบการ สิ้นเดือน ธันวาคม 2560 มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสม 8,561 บัญชี รวมเป็นเงิน 218.97 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินกู้พิโคไฟแนนซ์อนุมัติเฉลี่ย 2.55 หมื่นบาท/บัญชี ซึ่งประกอบด้วย
– สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 4,348 บัญชี เป็นเงิน 136.16 ล้านบาท คิดเป็น 62.18%
– สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน 4,213 บัญชี เป็นเงิน 82.81 ล้านบาท คิดเป็น 37.82%
ในส่วนของยอดสินเชื่อคงค้างรวม 3,592 บัญชี คิดเป็นเงิน 73.66 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มีจำนวน 209 บัญชี คิดเป็นเงิน 4.93 ล้านบาท หรือ 6.69% ของยอดสินเชื่อคงค้าง รวม และมีสินเชื่อค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน จำนวน 42 บัญชี คิดเป็นเงิน 1.50 ล้านบาท หรือ 2.04% ของสินเชื่อคงค้างรวม
ด้านนายพรชัยยังกล่าวต่ออีกว่า “สำหรับการปราบปรามเงินกู้นอกระบบนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงกวดขันจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบและผู้ติดตามทวงถามหนี้โดยวิธีการผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการจับกุม ผู้กระทำผิดรวมทั้งสิ้น 2,061 ราย“
1851 total views, 1 today