พิโคไฟแนนซ์เริ่มคึกคัก non-bank ลีซซิ่งเริ่มขอแจม
พิโคไฟแนนซ์เริ่มคึกคัก non-bank ลีซซิ่งเริ่มขอแจม
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงการคลัง ได้เปิดให้มีการยื่นเอกสารเพื่อขอใบอนุญาต ในการทำโครงการสินเชื่อเพื่อประชาชนใช้บริโภคกรณีฉุกเฉิน หรือในชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิโคไฟแนนซ์ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมาแล้วนั้น
ขณะนี้เได้มีผู้ประกอบการมายื่นขอใบอนุญาตประกอบการสินเชื่อพิโคไฟแนนซ์แล้วเป็นจำนวน 26 ราย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่กรุงเทพฯ ปทุมธานี กำแพงเพชร พิจิตร บึงกาฬ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ตรัง ภูเก็ต เป็นต้น
จากข้อมูลผู้ยื่นขออนุญาตประกอบการพิโคไฟแนนซ์พบว่า มีผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในลักษณนอนแบงก์ (non-bank) ลิสซิ่ง รวมถึงผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ่นส่วน โดยบางรายเชื่อว่าน่าจะเป็นเจ้าหนี้นอกระบบมายื่นขอจดทะเบียนพิโคไฟแนนซ์ “มีผู้ประกอบการที่เป็นรายใหญ่ซึ่งทำกิจการลิสซิ่งกับนอนแบงก์อยู่แล้ว สนใจลงมาทำพิโคไฟแนนซ์ด้วย และมีบางรายที่คาดว่าน่าจะเป็นเจ้าเดียวที่ยื่นเปิดพิโคไฟแนนซ์ และกระจายในหลายจังหวัดประมาณ 3-4 แห่ง”
ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะเร่งตรวจสอบเอกสารและอนุมัติใบอนุญาตให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์รอบแรก โดยจะทำการเปิดตัวและให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการ พิโคไฟแนนซ์มากกว่า 10 ราย ในวันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการแก้หนี้นอกระบบอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้เกณฑ์การขอยื่นจดทะเบียนพิโคไฟแนนซ์ จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สามารถปล่อยกู้ให้ประชาชนในพื้นที่เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 5 หมื่นบาท โดยสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมไม่เกิน 36% ต่อปี ซึ่งคาดว่าโครงการพิโคไฟแนนซ์นี้จะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และนำไปแก้ไขหนี้นอกระบบได้เพิ่มขึ้น หลังจากก่อนหน้าที่ทางกระทรวงการคลังได้เปิดโครงการนาโนไฟแนนซ์มาแล้วซึ่งมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพซึ่งนับว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
5321 total views, 1 today