ขั้นตอนการสมัครเป็นผู้ให้บริการพิโคไฟแนนซ์
ขั้นตอนการสมัครเป็นผู้ให้บริการพิโคไฟแนนซ์
หลังจากที่ทางรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาหนี้นอกระบบด้วยวิธีการต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือการที่จะต้องพยายามให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบให้มากขึ้น แต่ก็ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังต้องอาศัยการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบอยู่
ดังนั้นรัฐบาลจึงได้พยายามผลักดันให้เจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น นั่นเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพิงเงินกู้ในลักษณะนี้เนื่องจากขาดหลักประกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ประจำหรือทรัพย์สินต่างๆ ทำให้ไม่สามารถพึ่งสินเชื่อในระบบธนาคารได้
กลไกก็คือการให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้ทางรัฐสามารถติดตามดูแล ตรวจสอบได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือที่มาของพิโคไฟแนนซ์ (หรือพิโกไฟแนนซ์) ที่เน้นให้นายทุนเงินกู้นอกระบบมาลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพิโคไฟแนนซ์แล้วปล่อยกู้ในระดับจังหวัด
ด้วยระบบนี้ เจ้าหนี้เงินกู้ทั้งหลายสามารถปล่อยเงินกู้ได้อย่างถูกกฏหมาย และยังสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยด้วยอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมได้ถึง 36% ต่อปี หรือประมาณ 3% ต่อเดือน
จุดเด่นของพิโคไฟแนนซ์ก็คือ
– ปล่อยเงินกู้ได้อย่างถูกกฏหมายให้กับลูกค้าในพื้นที่
– ลูกหนี้จะมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
– คิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
ช่องทางในการขออนุญาตประกอบกิจการพิโคไฟแนนซ์
ทั้งนี้ขั้นตอนการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพิโคไฟแนนซ์นั้นทำได้ไม่ยุ่งยาก เมื่อรวบรวมเอกสารครบแล้ว สามารถยื่นได้หลายช่องทางเช่น ยื่นโดยตรงไปที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือธนาคารออมสิน หรือ ธกส. หรือส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์โดยตรงไปยังสำนักเศรษฐกิจการคลังก็ได้
หลักเกณฑ์สำคัญในการยื่นขอประกอบกิจการพิโคไฟแนนซ์
ผู้ที่จะประกอบกิจการพิโคไฟแนนซ์ จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นดังนี้คือ
– เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ก็ได้
– มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว หรือเงินลงหุ้นตามแต่กรณี โดยไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท
– ต้องไม่ทำกิจการ นาโนไฟแนนซ์ มาก่อน
นั่นหมายความว่าหากผู้ประกอบการยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลมาก่อน ก็แค่ไปจดแจ้งที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือ กทม ให้เรียบร้อยก่อนนั่นเอง โดยห้ามใช้ชื่อว่า ธนาคาร เงินทุน การเงิน การลงทุน เครดิต ทรัสต์ ไฟแนนซ์ เป็นต้น
การยื่นจดทะเบียน
หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้รวบรวมเอกสารตามรายการที่ระบุไว้ในคู่มือ เช่นหนังสือรับรองต่าง สำเนาหนังสือบริคณท์สินติ สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น งบการเงิน ฯลฯ
แล้วไปยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจ ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือธนาคารออมสิน ธกส หรือส่งเอกสารไปโดยตรงที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ขั้นตอนการพิจารณา
– ยื่นขออนุญาต
– ตรวจสอบเอกสาร
– พิจารณา
– แจ้งผลการพิจารณา
โดยการพิจารณาจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 60 วันนับจากวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารครบ และเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะต้องประกอบกิจการภายในระยะเวลา 1 ปี
ผู้สนใจสามารถ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ พร้อมตัวอย่างการกรอกเอกสารได้จากเว็บนี้ http://www.1359.in.th/fidp/doc/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88.pdf
4364 total views, 1 today