บริการเงินด่วนในอดีต เขาปล่อยกู้กันอย่างไร
บริการเงินด่วนในอดีต เขาปล่อยกู้กันอย่างไร
ในอดีตเรามักจะเห็นประกาศให้ เงินกู้ด่วน ปล่อยเงินกู้ กันตามเสาไฟฟ้า หรือตามตู้โทรศัพท์ เนื่องจากยุคนั้นอินเตอร์เน็ตยังอยู่แค่ตามร้านเน็ต ทุกคนไม่ได้มีสมาร์ทโฟนเหมือนสมัยนี้ ที่สามารถค้นหา เงินด่วน ได้ผ่านทางมือถือได้อย่างรวดเร็ว
ย้อนไปแค่ซักประมาณ 10 ปีที่แล้วก็พอนะครับ เพราะก่อนหน้านั้นหลักการบริการเงินด่วน ที่พบเห็นตามเสาไฟฟ้าก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน รูปแบบเป็นลักษณะเดียวกัน ที่เปลี่ยนก็แค่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
เริ่มต้นจากผู้ที่ทำธุรกิจในลักษณะนี้ต้องพยายามกวาดต้อนลูกค้าให้เข้ามาให้ได้มากที่สุด ถ้าคนที่โทรมา 100 คน ทำซัก 1 คนในแต่ละวัน ก็ถือว่ามีรายได้เป็นกอบเป็นกำกันแล้ว บรรดาผู้ที่ทำทีเป็นนายทุนเงินกู้ก็เลยเขียนประกาศให้ดูน่าสนใจไม่ว่า “เงินกู้ด่วน” “เงินด่วนอนุมัติไว” “เงินด่วน รับเงินใน 30 นาที” หรือข้อความชวนเชื่ออื่นๆ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อ
ยิ่งสำหรับคนมีบัตรเครดิตแล้ว จะดูน่าดึงดูดใจมาก เช่น “วงเงินเต็มก็กู้ได้” ทำให้คนที่รูดบัตรเครดิตจนเต็มวงเงินแล้วย่อมมีความหวังว่าจะได้เงินเพิ่มเข้ามาอีก แต่จริงๆแล้วถ้าไม่ใช่มิจฉาชีพ ก็จะเป็นการคัดกรองลูกค้าไปในตัวว่า ถ้าลูกค้ามีบัตรเครดิตแสดงว่ามีเงินเดือนประจำธนาคารเลยออกบัตรให้ โอกาสที่จะกู้ผ่านเลยสูงขึ้น
ต่อมาเมื่อมีลูกค้าโทรมา ก็จะถามความต้องการ ลูกค้าอาจจะบอกว่า ต้องการเงินด่วนซัก 30,000 – 40,000 บาท ถ้าอยู่ในช่วงนี้ก็ถือว่าตรงตามเป้าหมาย บางคนโทรมาจะกู้เป็นล้าน เพราะนึกว่าเป็นนายทุนปล่อยเงินกู้ที่คิดเอาไว้ตามจินตนาการ ก็จะบอกปัดไปว่าให้ไปยื่นกู้ในระบบเลย เงินกู้เป็นล้านนั้นสำหรับนายทุนกำมะลอเหล่านี้ตัวเองก็ไม่มีหรอกครับ
พอลูกค้าบอกสนใจจริง ทางนายทุนกำมะลอก็จะถามถึงหน้าที่การเงิน เงินดือน สลิปเงินเดือน เหมือนไฟแนนซ์ทั่วไป จากนั้นก็จะนัดเจอกันตามห้างสรรพสินค้า เพราะการดำเนินการจะอยู่ที่นั่น ยังไงการกู้เงินด่วนที่ได้เงินจริงก็ต้องมีการนัดเจอตัวอยู่แล้ว ประเภทที่ให้โอนเงินไปก่อนนี่ถือเป็นมิจฉาชีพได้เลย
โดยการนัดเจอนั้นจะให้ลูกค้าเตรียมเอกสารส่วนตัวสำหรับการยื่นกู้ให้เรียบร้อย เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน รายการบัญชีย้อนหลัง 3 – 6 เดือน ถึงวันนัดจากที่เคยนัดไว้ที่ห้างสรรพสินค้า ก็จะมีการโทรมาเลื่อนนัดเป็นสำนักงานใหญ่ซึ่งเป็นคนละที่กับห้างสรรพสินค้าที่นัดเอาไว้
ฟังดูเป็นสำนักงานใหญ่นั้นก็อาจจะดูดีน่าเชื่อถือว่าเป็นบริษัทเงินกู้จริงๆ พอเวลานัดเขาจะให้เราโทรหาตลอดแล้วบอกว่าจะมารับปากซอยบ้างไรบ้าง เอาเข้าจริงๆเขาอยากจะทราบว่าฝั่งเรามากี่คน เป็นสายตำรวจหรือไม่ ถ้าดูไม่น่าไว้วางใจเขาก็จะปิดโทรศัพท์หนีไป แต่ถ้าเห็นว่าเรามาคนเดียวดูท่าทีว่าต้องการเงินกู้จริงก็จะโทรบอกเส้นทางเป็นระยะๆ แล้วก็จะชีเป้าไปยังอาคารพาณิชย์แถวๆที่นัดไว้
พอเข้าไปก็จะเป็นห้องโล่งๆ ดูไม่เหมือนเป็นบริษัทอะไร ก็แน่นอนหละมันจะเป็นแค่สถานที่ซักซ้อมความเข้าใจเท่านั้น มีแค่โต้ะเก้าอี้มาให้นั่งคุยกัน โดยนายทุนกำมะลอจะเอาตารางเงินผ่อนให้ดู ว่ากู้เท่านี้ผ่อนระยะเวลาเท่านั้นต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่
จากนั้นเขาก็จะชี้ไปที่รูปสินค้าตามวงเงิน สมัยนั้นก็จะเป็นสินค้าราคาแพงความต้องการสูง เช่นโน้ตบุค กล้องดิจิตอล หรืออะไรก็ตามที่สามารถขายต่อได้โดยง่ายในตลาดมือสอง หลักการคือเขาอาจบอกให้ดูถึงตัวสินค้าเช่น โน้ตบุคคอมพิวเตอร์ ราคา 40,000 บาท แล้วแจ้งเราว่าผ่อนเดือนละ 2500 เป็นระยะเวลา 2 ปี เบ็ดเสร็จต้องจ่ายเงินไป 60,000 บาท และเราจินตนาการว่าจะได้เงินสดมา 40,000 บาท ประมาณนั้น
เมื่อเห็นท่าว่าลูกค้า เงินด่วน เข้าใจว่าต้องดำเนินการอะไรยังไงแล้ว นายหน้าเงินด่วน ก็จะเริ่มส่งแฟกส์เอกสารไปยังปลายทางที่ตอนนี้ลูกค้ายังไม่รู้ว่าคือที่ไหน พร้อมกับให้ลูกค้านั่งรอ โดยระหว่างนั้นจะมีการโทรศัพท์ติดต่อไปยังบุคคลภายนอกตลอดเวลา ปล่อยให้ลูกค้านั่งงงๆ กันไป ระหว่างนั้นก็จะได้ยินเสียงโทรศัพท์สายเข้าของคนที่เดือดร้อนต้องการกู้เงินด่วน มากอยู่เหมือนกัน
กระบวนการกู้เงินด่วนในอดีต จะเป็นอย่างไรต่อไป ติดตามอ่านต่อได้ที่ เรื่องราวการปล่อยกู้เงินด่วนในอดีตภาค 2 เพราะเรื่องราวบอกเล่าจากประสพการณ์ของคนที่เคยกู้เงินด่วนตามเสาไฟฟ้าในอดีตล้วนๆ อย่าลืมติดตามกันนะครับ
2859 total views, 1 today