นาโนไฟแนนซ์ คืออะไร จะช่วยคนจนได้จริงหรือ
นาโนไฟแนนซ์ คืออะไร จะช่วยคนจนได้จริงหรือ
ช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงได้ยินคำว่า นาโนไฟแนนซ์ อยู่บ่อยๆ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นที่สนใจของประชาขนทั่วไป หลายคนอาจจะสงสัยว่า นาโนไฟแนนซ์ คืออะไร เงื่อนไขการปล่อยกู้จะเป็นอย่างไร ต้องมีหลักทรัพย์หรือคนค้ำประกันหรือไม่อย่างไร เรามาทำความรู้จักกันนะครับ
คำว่า นาโนไฟแนนซ์ หรือ Nano finance นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ ซึ่งการกำกับที่ว่านั้นก็คือการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสินเชื่อในลักษณะนี้ภาครัฐต้องการผลักดันเนื่องจากเห็นว่า ประชาชนรายย่อยที่ไม่มีหลักประกันเป็นทรัพย์สินนั้นเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการลงทุนในการประกอบอาชีพต่างๆได้ยาก
ประชาชนในกลุ่มนี้หากต้องการสินเชื่อจากสถาบันการเงินก็ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากติดขัดข้อกำหนดการดำเนินงานของธนาคาร เพราะธนาคารนั้นต้องรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป หากมีหนี้เสียประเภทนี้สูงๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อเงินฝากประชาชนในวงกว้าง การที่ประชาชนที่ไม่หลักทรัพย์หรือที่มาของรายได้ที่นี่นอนไปยื่นกู้นั้น ระบบธนาคารปกติไม่สามารถรองรับได้
คนกลุ่มนี้จึงอาจจะหันไปพึ่งหนี้นอกระบบซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก เช่นร้อยละ 5 ถึง 20% ต่อเดือน ทำให้มีภาระหนี้สินเกินตัวและอาจถูกทวงถามหนี้สินด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ถูกคุกคามจนไม่สามารถประกอบอาชีพปกติได้ สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์จึงเป็นสินเชื่อที่มีวัตุประสงค์ที่จะช่วยให้รายย่อยมีเงินทุนเพื่อไปประกอบอาชีพสร้างรายได้อันจะเป็นการส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
สินเชื่อ นาโนไฟแนนซ์ จึงถูกกำหนดให้เป็นสินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมาดาเพื่อนำไปประกอบอาชีพโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งกระบวนการในการอนุมัติสินเชื่อนั้นผู้ประกอบการธุรกิจนาโนไฟแนนซ์จะมีการปรับแต่งข้อกำหนดให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้ก็
ดังนั้นผู้กู้จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งที่มารายได้ หรือทรัพย์สินที่จะต้องใช้เป็นหลักประกัน ก็สามารถกู้ยืมเงินได้ และเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องภาระหนี้สินของคนกลุ่มนี้ จึงมีการกำหนดให้แต่ละรายกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดรวมค่าธรรมเนียม ค่าบริการต่างๆ รวมเบี้ยปรับ ไว้ไม่เกิน 36% ต่อปี
จากข้อกำหนดนี้ผู้ประกอบการนาโนไฟแนนซ์ จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าทวงถามหนี้ เป็นต้น และแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสินเชื่อนอกระบบทั่วไป (เฉลี่ยนาโนไฟแนนซ์ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3% เตือน) แต่ก็จะสูงกว่าสินเชื่อในระบบประเภทอื่นๆ เช่นสินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงินทั่วไปที่จะอยู่ที่อัตรา 28% ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเครดิตของผู้กู้นั้นอาจจะไม่มีประวัติการทำธุรกรรมมาก่อนนั่นเอง
ส่วนหลักเกณฑ์ในการดำเนินการนั้นผู้ประกอบธุรกิจ นาโนไฟแนนซ์ จะกำหนดขึ้นมาตามความเหมาะสม และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ และเพื่อให้การดำเนินการมีความโปร่งใส จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการแสดงข้อมูลต่างๆ เช่นการเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ตารางแสดงการขำระหนี้ และการดำเนินการในกรณีมีข้อร้องเรียน
ในแง่ของเงินทุนของผู้ประกอบการนั้น หากเป็นสถาบันการเงินในระบบอย่างธนาคารหรือบริษัทเงินทุน ก็สามารถดำเนินการได้เลย แต่หากเป็นผู้ประกอบการทั่วไป จะต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้ และต้องจัดตั้งเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และต้องมีอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ไม่เกิน 7 เท่า
ประเด็นสำคัญคือผู้ประกอบการจะต้องไม่รับฝากเงินจากประชาชนโดยตรง เพราะการดำเนินการ นาโนไฟแนนซ์ ก็คือมีวัตถุประสงค์การปล่อยกู้เป็นหลัก ความเสี่ยงต่างๆ จะได้ไม่ถูกส่งต่อไปยังเงินฝากเหมือนระบบธนาคารทั่วไป
นาโนไฟแนนซ์ จึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของการสนับสนุนประชาชนระดับล่างในการเข้าถึงเงินทุน และคาดว่าจะลดปัญหาหนี้นอกระบบได้ดีขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกทางหนึ่งด้วย
5557 total views, 2 today