ทวงนายก จี้ ศธ. เร่งแก้หนี้สินครู
ทวงนายก จี้ ศธ. เร่งแก้หนี้สินครู
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ นำกลุ่มเครือข่ายประชาชนต่อต้นคอรัปชั่น กลุ่มเครือข่ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้สินขั้นวิกกฤต จำนวนหนึ่งเข้ายื่นหนังสือต่อ นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้อำนวยการสำนักประสานมวลชน ศูนย์บริการประขาชน สำนักปลัด สำนักนายก เพื่อติดตามทวงถามการบริหารจัดการหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบปัญหาวิกฤต ตามที่เคยยื่นเมื่อ 14 กรกฏาคมที่ผ่านมา
การยื่นหนังสือครั้งนี้ได้เสนอให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ลดอัตราดอกเบี้ยจาก MLR ที่ 7.5% ให้เหลือ 3.5 – 4% ทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ ระงับการฟ้องร้องหรือบังคับคดีครูจำนวน 33,000 ราย และให้จัดตั้งหน่วยงานกลางหรือธนาคารเพื่อบริหารจัดการหนี้สินข้าราชการครูทั้งระบบ แต่ตอนนี้ผ่านมาแล้ว 2 เดือนกลับยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานที่รับิดชอบกลับออกข่าวและเตรียมที่จะฟ้องร้องข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา
มีรายงานถึงการที่ทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมถึงนายกรัฐมนตรี โดยระบุถึงแหล่งเงินกู้ที่สำคัญของครูทั่วประเทศ 4 แสนคน รวมเป็นหนี้สินจำนวนมหาศาลได้แก่
1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่มีจำนวน 87 แห่งทั่วประเทศ มีทุนดำเนินการกว่า 3.7 แสนล้านบ้าน มีสมาชิก 6.4 แสนราย มีสมาชิกที่เป็นหนี้สหกรณ์จำนวน 4.6 แสนราย วงเงินรวม 7.6 แสนล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 2.2 – 8.2% ต่อปี
2. แหล่งเงินกู้จากโครงการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นโครงการระหว่างธนาคารออมสิน กระทรวงศึกษาธิการ และกลุ่มเครือข่ายพัฒนาชีวิตครู มีสมาชิกจำนวน 1,571 กลุ่ม หรือ 93,140 คน ยอดเงินกู้ 1.1 แสนล้านบาท
3. สินเชื่อโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.ค.พ.) โดยมีสมาชิกจำนวน 8.3 แสนราย และโครงการกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกรณีที่คู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สมาชิกจำนวน 3.8 แสนราย รวมวงเงินกู้ทั้งหมด 8.7 แสนล้านบาท
4. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู บริหารโครงการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีทุนดำเนินการ 1,200 ล้านบาท ยอดเงินกู้ 2.7 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR -1%
5. แหล่งเงินกู้อื่นที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เช่น บัตรเครดิต เงินกู้ธนวัฏ เงินกู้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เงินกู้จากสินค้าเงินผ่อน เงินกู้นอกระบบ และอื่นๆ
เอกสารระบุถึงหนี้สินของครูนั้นรวมกันแล้วมากถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากนันรวมหนี้สินนอกระบบแล้วน่าจะแตะ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล ทำให้ค่าเฉลี่ยนของครูเป็นหนี้ที่คนละ 2 ล้านบาท โดยมีครูที่เป็นหนี้สูงสุดถึง 5 ล้านบาทด้วยกัน
ที่มา manager.co.th
1724 total views, 1 today