ดำเนินกิจการดี แต่ไม่ปรากฏที่มาที่ไปของรายได้ ทำให้กู้เงินจากธนาคารได้ยาก
ดำเนินกิจการดี แต่ไม่ปรากฏที่มาที่ไปของรายได้ ทำให้กู้เงินจากธนาคารได้ยาก
บทความนี้เป็นเรื่องราวต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบกา SME หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการกู้เงินกับธนาคาร แต่ประกฏว่าธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อให้ ซึ่งก็มีเหตุผลหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งผู้อ่านสามารถติดตามได้จาก บทความก่อนหน้านี้คือ
1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
2. ขาดประสบการณ์แต่ฝันหวานถึงการประกอบธุรกิจ
สำหรับวันนี้เรามากล่าวถึงรายได้ของกิจการนะครับ ว่าสามารถแสดงที่มาที่ไปได้หรือเปล่า แม้กิจการดูดี มีกำไร แต่หากไม่สามารถแสดงที่มาที่ไปของรายได้ต่างๆ ธนาคารก็ย่อมคิดว่าเสี่ยง เพราะกิจการดำเนินการอย่างไม่เป็นระบบ แล้วจะมากู้เงินสถาบันการเงิน ทางผู้ให้กู้ก็ต้องพยายามมองถึงที่มาที่ไปของรายได้อย่างละเอียดเพื่อประเมินว่าผู้กู้มีศักยภาพพอที่จะชำระหนี้คืนได้หรือไม่นั่นเอง
ปัญหาเกิดจากการที่ กิจการนั้นๆอาจจะดำเนินการมานาน และทุกอย่างเป็นไปด้วยระบบเงินสด เวลาซื้อของเข้ามาแล้วมีบิลเรียกเก็บเงิน ก็จะจ่ายเป็นเงินสดออกไป พอมีรายการขายเข้ามาก็รับเป็นเงินสดเข้ามา ทำให้บันทึกต่างๆไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากระแสเงินสดต่างๆมาจากไหนหรือไปทางไหน ปัญหาเกิดจากการไม่ดำเนินการเอาเงินผ่านระบบธนาคารนั่นเอง
ทั้งนี้เพราะตอนเริ่มกิจการ พอรับเป็นเงินสด ก็จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดออกไป หักลบกลบหนี้กันไปเป็นรายวัน เงินที่เหลือก็อาจจะเก็บไว้ที่บ้าน นานๆถึงจะไปฝากธนาคารซักครั้งนึง
หรือที่อาจจะดีขึ้นมาหน่อยก็คืออาจจจะมีการไปฝากถอนธนาคารทุกวัน แต่มักจะเป็นยอดที่หักลบกลบหนี้แล้ว ทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่า จริงๆแล้วในแต่ละวันร้านมียอดขายเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มีกำไรออกมาเป็นอย่างไร
SME บางรายอาจจะทำเป็นระบบขึ้นมาหน่อย คือไปจดทะเบียนการค้า จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แต่ยังใช้บัญชีออมทรัพย์ในนามส่วนตัวอยู่ ทั้งเงินส่วนต้วและเงินของกิจการกลับอยู่ในบัญชีเดียวกัน ทำให้ทั้งรายได้ของกิจการและรายได้ส่วนตัว รวมถึงรายจ่ายของกิจการและรายจ่ายส่วนตัวอยู่ในบัญชีเดียวกัน ยากแก่การตรวจสอบและติดตามรายการต่างๆ
จะมีกิจการเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการแยกบัญชีกิจการออกมาโดยเฉพาะ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่ารายได้ไหนเป็นรายได้ของกิจการหรือรายได้ส่วนตัว ยกเว้นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลและมักจะเปิดบัญชีในนามของกิจการอยู่แล้วเนื่องจากมีการสั่งจ่ายเช็คสำหรับกิจการ และมักจะมีระบบบัญชีที่เป็นระบบมากกว่า
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลัวว่าการนำเงินเข้าระบบธนาคารจะเป็นหลักฐานให้สรรพากรเข้ามาตรวจสอบภาษี เลยไม่อยากจะนำเงินเข้าระบบธนาคาร เพื่อจะได้เสียภาษีน้อยลง ทำให้เมื่อมึความจำเป็นในการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็ไม่สามารถกู้เงินได้เนื่องจากไม่ได้เดินบัญชีในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น
ดังนั้นผู้ประกอบการ SME ควรระลึกไว้เสมอว่า แทบทุกสถาบันการเงินต้องการรายการเดินบัญชี โดยธนาคารต้องขอเอกสารจากผู้ขอกู้เพื่อพิจารณาสินเชื่อ กล่าวคือขอดูรายการเคลื่อนไหวทางการเงินในบัญชีอย่างน้อย 6 เดือน ย้อนหลัง หรือพูดง่ายๆก็คือขอดู statement อย่างน้อย 6 เดือนย้อนหลังว่ากิจการมีรายรับ รายจ่ายและการเดินบัญชีเป็นอย่างไร มีผลกำไรเป็นอย่างไร เพื่อจะได้พิจารณาว่ากิจการมีกำไรคงเหลือพอที่จะชำระหนี้เงินกู้หรือไม่
นั่นหมายถึงว่า แม้กิจการนั้นๆจะดูดีมีกำไร แต่หากแสดงให้สถาบันการเงินดูไม่ได้ว่า รายรับ รายจ่ายเป็นอย่างไร ก็เป็นการยากที่จะขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ และมักจะได้รับการปฏิเสธจากสถาบันการเงินและมักจะมาพร้อมกับคำแนะนำว่าให้ไปเดินบัญชีรายรับรายจ่ายให้ครบ 6 เดือนแล้วค่อยมายื่นกู้ใหม่
เดินบัญชีทำอย่างไร
หากกิจการของท่านไม่ได้รับการจดทะเบียนเป็น หจก หรือ บริษัท เลยอาจจะไม่มีระบบบัญชี ดังนั้นขั้นตอนง่ายๆในการทำบัญชีก็คือ หาซื้อสมุดบัญชีเล่มเล็กๆ แล้วลงรายการทุกรายการไม่ว่าจะรายรับหรือรายจ่ายอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นเป็นรายวัน
โดยการลงวันที่ ชื่อรายการ อาจจะระบุว่าขายสินค้าไปจำนวนเท่าไหร่ ยอดรวมเท่าไหร่ หากเป็นรายการจ่ายก็ลงรายการว่าเป็นรายการอะไร จ่ายไปเท่าไหร่ สิ้นสุดรายการประจำวัน ก็นำเงินส่วนต่างไปฝากบัญชีธนาคาร
การกระทำข้างต้นจริงๆแล้วยังไม่ถือว่าเป็นการลงบัญชีที่ดี เราควรจะต้องรวมรายรับทุกรายการเข้าด้วยกัน แล้วนำฝากเข้าบัญชีทุกสิ้นวัน หรือทุกๆ สามสี่วัน ปัญหาคือแล้วรายจ่ายจะทำอย่างไร
วิธีการก็คือการเบิกเงินสดมาสำรองรายจ่าย แล้วลงบัญชีแยกไว้อีกต่างหาก คล้ายๆกับว่าท่านทำบัญชีเหมือนสมุดคู่ฝาก เช่นถอนเงินมา 30,000 บาท ไว้สำหรับการจ่ายค่าสินค้า ท่านก็ลงสมุดไว้ว่าจ่ายค่าสินค่าไปเท่าไหร่อย่างไร ถ้าเหลือก็ทบเอาไว้ ถ้าขาดก็ไปถอนเพิ่ม อย่านำเงินขายมาจ่ายตรงนี้
สิ้นวันก็นับยอดรายได้รวมแล้วนำไปฝากทั้งยอด อาจจะพร้อมๆกันนั้นถอนเงินมาเพื่อใช้สำหรับการใช้จ่ายในงวดถัดไปเลยก็ได้
ตอนสิ้นเดือนอาจจะมีการจ่ายเงินเดือนพนักงาน เงินเดือนตัวเอง ค่าน้ำค่าไฟ ก็โอนแยกไว้ในบัญชีส่วนตัวต่างหาก การใช้จ่ายส่วนตัวก็ฝากถอนจากบัญชีใหม่นี้
ระบบการแยกบัญชีแบบนี้ สถาบันการเงินถึงจะชอบ และสามารถไล่ตรวจสอบกระแสเงินสดของท่านได้ และโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อให้ท่านจะมีสูงขึ้นนั่นเอง
3463 total views, 1 today